- ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
- สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์
- รายละเอียดสถานการณ์ผลิดและการตลาด
สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 26 เมษายน-2 พฤษภาคม 2564
ข้าว
1.สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 มาตรการสินค้าข้าว
1) แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2563/64 ประกอบด้วย 5 ช่วง ดังนี้
ช่วงที่ 1 การกำหนดอุปสงค์และอุปทานข้าว ได้กำหนดอุปสงค์ 28.786 ล้านตันข้าวเปลือกอุปทาน 30.865 ล้านตันข้าวเปลือก
ช่วงที่ 2 ช่วงการผลิตข้าว
2.1) การวางแผนการผลิตข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีการวางแผนการผลิตข้าว ปี 2563/64
รวม 69.409 ล้านไร่ คาดการณ์ผลผลิต 30.865 ล้านตันข้าวเปลือก จำแนกเป็น รอบที่ 1 พื้นที่ 59.884 ล้านไร่ คาดการณ์ผลผลิต 24.738 ล้านตันข้าวเปลือก และรอบที่ 2 พื้นที่ 9.525 ล้านไร่ คาดการณ์ผลผลิต 6.127 ล้านตันข้าวเปลือก โดยสามารถปรับสมดุลการผลิตได้ในการวางแผนรอบที่ 2 หากราคามีความอ่อนไหว ความต้องการใช้ข้าวลดลง และสถานการณ์น้ำน้อย รวมทั้งการปรับลดพื้นที่การปลูกข้าวไปปลูกพืชอื่น โดยจะมีการทบทวนโครงการ
ลดรอบการปลูกข้าวก่อนฤดูกาลเพาะปลูกข้าวรอบที่ 2
2.2) การจัดทำพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีการจัดทำพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าว ปี 2563/64 รอบที่ 1 จำนวน 59.884 ล้านไร่ แยกเป็น 1) ข้าวหอมมะลิ 27.500 ล้านไร่ ผลผลิต 9.161 ล้านตันข้าวเปลือก 2) ข้าวหอมไทย 2.084 ล้านไร่ ผลผลิต 1.396 ล้านตันข้าวเปลือก 3) ข้าวเจ้า 13.488 ล้านไร่ ผลผลิต 8.192 ล้านตันข้าวเปลือก 4) ข้าวเหนียว 16.253 ล้านไร่ ผลผลิต 5.770 ล้านตันข้าวเปลือก และ 5) ข้าวตลาดเฉพาะ 0.559 ล้านไร่ ผลผลิต 0.219 ล้านตันข้าวเปลือก
2.3) การจัดการปัจจัยการผลิต ได้แก่ โครงการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ดี และควบคุมค่าเช่าที่นา
2.4) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ได้แก่โครงการส่งเสริมระบบนาแบบแปลงใหญ่โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ โครงการส่งเสริมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิตพืช โครงการเพิ่มศักยภาพการผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้สู่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวกข43 และข้าวเจ้าพื้นนุ่ม (กข79) และโครงการรักษาระดับปริมาณการผลิตและคุณภาพข้าว
2.5) การควบคุมปริมาณการผลิตข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย
2.6) การพัฒนาชาวนา ได้แก่ โครงการชาวนาปราดเปรื่อง
2.7) การวิจัยและพัฒนา ได้แก่ โครงการปรับปรุงและการรับรองพันธุ์ข้าวคุณภาพดีเพื่อการแข่งขัน และโครงการปรับปรุงและการรับรองพันธุ์ข้าวเจ้าพื้นนุ่มพันธุ์ใหม่
2.8) การประกันภัยพืชผล ได้แก่ โครงการประกันภัยข้าวนาปี
ช่วงที่ 3 ช่วงการเก็บเกี่ยวและหลังเก็บเกี่ยว ได้แก่ โครงการสินเชื่อเพื่อสร้างยุ้งฉางให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกร
ช่วงที่ 4 ช่วงการตลาดในประเทศ
4.1) การพัฒนาตลาดสินค้าข้าว ได้แก่ โครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์และข้าว GAP ครบวงจร และโครงการรณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยทั้งตลาดภายในประเทศและต่างประเทศ
4.2) การชะลอผลผลิตออกสู่ตลาด ได้แก่โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปีโครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกรโครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อกและโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว
ช่วงที่ 5 ช่วงการตลาดต่างประเทศ
5.1) การจัดหาและเชื่อมโยงตลาดต่างประเทศ ได้แก่ การเจรจาขยายตลาดข้าวและกระชับความสัมพันธ์ทางการค้าในต่างประเทศ โครงการกระชับความสัมพันธ์ และรณรงค์สร้างการรับรู้ในศักยภาพข้าวไทยเพื่อขยายตลาดไทยในต่างประเทศ และโครงการ ลด/แก้ไขปัญหาอุปสรรคทางการค้าข้าวไทยและเสริมสร้างความเชื่อมั่น
5.2) ส่งเสริมภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์ข้าว ผลิตภัณฑ์ข้าวและนวัตกรรมข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมและขยายตลาดข้าวไทยเชิงรุก โครงการผลักดันข้าวหอมมะลิไทยคุณภาพดีจากแหล่งผลิตสู่ตลาดโลก โครงการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ข้าวไทยในงานแสดงสินค้านานาชาติ โครงการจัดประชุม Thailand Rice Convention 2021 และโครงการเสริมสร้างศักยภาพสินค้าเกษตรนวัตกรรมไทยเพื่อการต่อยอดเชิงพาณิชย์
5.3) ส่งเสริมพัฒนาการค้าสินค้ามาตรฐาน และปกป้องคุ้มครองเครื่องหมายการค้า/เครื่องหมายรับรองข้าวหอมมะลิไทย
5.4) ประชาสัมพันธ์รณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยในตลาดข้าวต่างประเทศ
2) มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2563 อนุมัติโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2563/64มาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64 และโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64 และงบประมาณ ดังนี้
2.1) โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2563/64 รอบที่ 1 โดยกำหนดชนิดข้าว ราคา และปริมาณประกันรายได้ (ณ ราคาความชื้นไม่เกิน 15%) ดังนี้ (1) ข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคาประกันตันละ 15,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 14 ตัน (2) ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ราคาประกันตันละ 14,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน (3) ข้าวเปลือกเจ้า ราคาประกันตันละ 10,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 30 ตัน (4) ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ราคาประกันตันละ 11,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 25 ตัน และ (5) ข้าวเปลือกเหนียว ราคาประกันตันละ 12,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน
2.2) มาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64 ประกอบด้วย
3 มาตรการ ได้แก่
(1)โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2563/64 โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในเขตพื้นที่ปลูกข้าวทั่วประเทศ เพื่อชะลอข้าวเปลือกไว้ในยุ้งฉางเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร จำนวน 1.82 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อต่อตัน จำแนกเป็น ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 11,000 บาทข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 9,500 บาท ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 5,400 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 7,300 บาท และข้าวเปลือกเหนียวตันละ 8,600 บาทรวมทั้งเกษตรกรที่เก็บข้าวเปลือกในยุ้งฉางตนเอง จะได้รับค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวเปลือกในอัตราตันละ 1,500 บาท สำหรับสถาบันเกษตรกรที่รับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรที่
เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับในอัตราตันละ 1,000 บาท และเกษตรกรผู้ขายข้าวเปลือก ได้รับในอัตราตันละ 500 บาท
(2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกรปีการผลิต 2563/64โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร ประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และศูนย์ข้าวชุมชน เพื่อรวบรวมข้าวเปลือกจำหน่าย และ/หรือเพื่อการแปรรูป วงเงินสินเชื่อเป้าหมาย 15,000 ล้านบาท
คิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ร้อยละ 4 ต่อปี โดยสถาบันเกษตรกรรับภาระดอกเบี้ย ร้อยละ 1 ต่อปี รัฐบาลรับภาระชดเชยดอกเบี้ยให้สถาบันเกษตรกรร้อยละ 3 ต่อปี
(3)โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก ปีการผลิต 2563/64 ผู้ประกอบการค้าข้าวรับซื้อข้าวเปลือกเพื่อเก็บสต็อก เป้าหมาย 4 ล้านตันข้าวเปลือก โดยสามารถรับซื้อจากเกษตรกร
ได้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2563 - 31 มีนาคม 2564 (ภาคใต้ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2564) และเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสาร ระยะเวลาการเก็บสต็อกอย่างน้อย 60 - 180 วัน (2 - 6 เดือน)นับแต่วันที่รับซื้อ โดยรัฐชดเชยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3
3)โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64
ธ.ก.ส. ดำเนินการจ่ายเงินให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน ลดต้นทุนการผลิต ให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้น ในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 20 ไร่ (ครัวเรือนละไม่เกิน 20,000 บาท) ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ขอดำเนินการจ่ายเงินเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว
ปีการผลิต 2563/64 รอบที่ 1 กับกรมส่งเสริมการเกษตร ในอัตราไร่ละ 500 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 20 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 10,000 บาท ก่อนในเบื้องต้น
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 11,797 บาท ราคาลดลงจากตันละ 11,822 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.22
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 8,945 บาท ราคาลดลงจากตันละ 9,101 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.72
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 24,350 บาท ราคาลดลงจากตันละ 24,550 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.81
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 14,010 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 13,750 บาท ในสัปดาห์ก่อน
ร้อยละ 1.89
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 809 ดอลลาร์สหรัฐฯ (25,147 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 811 ดอลลาร์สหรัฐฯ (25,166 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.25 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 19 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 493 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,324 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 487 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,112 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.23 และเพิ่มขึ้นรูปเงินบาทตันละ 212 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 493 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,324 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 484 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,019 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.86 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 305 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 31.0838 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
เวียดนาม
สัปดาห์ที่ผ่านมา ภาวะราคาข้าวอยู่ในระดับทรงตัว เนื่องจากผู้ซื้อต่างรอดูสถานการณ์ราคาที่อาจจะอ่อนตัวลงไปอีก ขณะที่อุปทานข้าวค่อนข้างตึงตัว เนื่องจากสถานการณ์ในกัมพูชาที่มีการล็อคดาวน์ ซึ่งส่งผลให้การขนส่งสินค้าต้องหยุดชะงัก ขณะที่อินเดียกำลังประสบปัญหาการระบาดของโควิด-19 อย่างหนัก ทั้งนี้ความกังวลดังกล่าว ส่งผลให้ราคาข้าวยังไม่ปรับตัวลดลง โดยข้าวขาว 5% ราคาอยู่ที่ประมาณ 485-495 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน เท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา (ซึ่งเป็นระดับราคาที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือนธันวาคม 2563)
วงการค้ารายงานว่า ในช่วงนี้ผู้ส่งออกกำลังเร่งส่งมอบข้าวตามสัญญาที่ค้างอยู่ทั้งจากประเทศคิวบา บังคลาเทศ และซีเรีย ทำให้คาดว่าในเดือนเมษายนนี้ปริมาณส่งออกจะเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 700,000-800,000 ตัน จากเดือนมีนาคมที่ส่งออกประมาณ 539,040 ตัน กรมศุลกากรเวียดนาม (the Customs Department) รายงานว่า ในเดือนมีนาคม 2564 เวียดนามส่งออกข้าวได้ประมาณ 539,040 ตัน มูลค่าประมาณ 290.83 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ราคาส่งออกเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 539.5 เหรียญสหรัฐต่อตัน โดยปริมาณลดลงประมาณร้อยละ 8.9 แต่มูลค่าเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 7 และราคาส่งออกเฉลี่ยสูงขึ้นประมาณร้อยละ 17.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา และเมื่อเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ 2564 ปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 74 แต่ราคาส่งออกเฉลี่ยลดลงประมาณร้อยละ 0.5 (ในเดือนกุมภาพันธ์ 2564 เวียดนามส่งออกข้าวได้ประมาณ 308,472 ตัน มูลค่าประมาณ 167.71 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ราคาส่งออกเฉลี่ยอยู่ที่ ประมาณ 543.7 เหรียญสหรัฐต่อตัน) ตลาดสำคัญที่เวียดนามส่งออกข้าวในเดือนมีนาคม 2564 ได้แก่ ฟิลิปปินส์ 155,707 ตัน กาน่า 44,836 ตัน และมาเลเซีย 55,764 ตัน ทั้งนี้ ในช่วง 3 เดือนแรกของปี 2564 (มกราคม-มีนาคม) มีการส่งออกข้าวแล้วประมาณ 1,192,324 ตัน มูลค่าประมาณ 648.639 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ราคาส่งออกเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 544 เหรียญสหรัฐต่อตัน โดยปริมาณลดลงร้อยละ 21.42 มูลค่าลดลงร้อยละ 7.44 แต่ราคาส่งออกเฉลี่ยสูงขึ้นประมาณร้อยละ 17 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ ตลาดสำคัญที่เวียดนามส่งออกข้าวในช่วง 3 เดือนแรกของปี 2564 (มกราคม-มีนาคม) ได้แก่ ฟิลิปปินส์ประมาณ 411,581 ตัน มูลค่าประมาณ 219.956 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ปริมาณ และมูลค่าลดลงร้อยละ 30.74 และร้อยละ 14.47 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ตามลำดับ) คิดเป็นร้อยละ 34.52 ของปริมาณส่งออกทั้งหมด และร้อยละ 33.91 ของมูลค่าการส่งออกข้าวทั้งหมด รองลงมา เช่น จีน ประมาณ 256,516 ตัน มูลค่าประมาณ 136.168 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 58.3 และร้อยละ 49.7 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ตามลำดับ) คิดเป็นร้อยละ 21.51 และร้อยละ 20.99 ของการส่งออกข้าวทั้งหมด ตามลำดับ กาน่า ประมาณ 94,379 ตัน มูลค่าประมาณ 55.909 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ปริมาณลดลงร้อยละ 11.69 แต่มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 7 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา) คิดเป็นร้อยละ 7.92 และร้อยละ 8.62 ของการส่งออกข้าวทั้งหมด ตามลำดับ ไอวอรี่โคสต์ ประมาณ 87,787 ตัน มูลค่าประมาณ 44.339 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 121.08 และร้อยละ 169.97 เมื่อเทียบปีที่ผ่านมา ตามลำดับ) คิดเป็นร้อยละ 7.39 และร้อยละ 6.84 ของการส่งออกข้าวทั้งหมด ตามลำดับ มาเลเซีย ประมาณ 79,235 ตัน มูลค่าประมาณ 42.548 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ปริมาณและมูลค่าลดลงร้อยละ 54.68 และร้อยละ 39.69 เมื่อเทียบปีที่ผ่านมา คิดเป็นร้อยละ 6.65 และร้อยละ 6.56 ของการส่งออกข้าวทั้งหมด ตามลำดับ และสิงคโปร์ ประมาณ 24,735 ตัน มูลค่าประมาณ 14.407 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ปริมาณลดลงร้อยละ 37.71 เมื่อเทียบปีที่ผ่านมา) คิดเป็นร้อยละ 2.07 ของการส่งออกข้าวทั้งหมด) เป็นต้น
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครโฮจิมินห์ รายงานว่า เมื่อต้นเดือนเมษายน 2564 เกาหลีใต้
ได้เปิดการประมูลราคาข้าวปริมาณ 200,000 ตัน โดยมีผู้เข้าร่วมประมูล ประกอบด้วย สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย จีน ไทย และเวียดนาม สำหรับเวียดนามนั้นมี 7 บริษัท เช่น บริษัท Tan Long Group JSC. บริษัท Kien Giang Import and Export Company บริษัท Northern Food Corporation (Vinafood 1) บริษัท Gia International Company บริษัท Thuan Minh Company และ บริษัท Trung An High Tech Agricultural JSC. เข้าร่วมการประมูลราคาข้าวดังกล่าว ซึ่งเกาหลีใต้ให้เวียดนามประมูลครั้งนี้ปริมาณ 11,236 ตัน ทั้งนี้ บริษัท ส่งออกข้าว Trung An High Tech Agriculture JSC. เป็นผู้ชนะการประมูลราคาข้าวเพียงรายเดียวปริมาณ 11,236 ตัน ด้วยราคา (CIF) 584 เหรียญสหรัฐต่อตัน และจะส่งมอบให้เกาหลีใต้ภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2564 ณ ท่าเรือ MOKPO โดยช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2564 เกาหลีใต้นำเข้าข้าวจากเวียดนามประมาณ 10,612 ตัน ลดลงร้อยละ 52.1 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา ด้วยมูลค่า 5.4 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 42.4
กระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทเวียดนามได้อนุมัติแผนงาน “การปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมข้าวของเวียดนาม ระหว่างปี 2568-2573” ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 26 มกราคม 2564 สรุปรายละเอียดดังนี้ เป้าหมาย (1) ตอบสนองความต้องการบริโภคภายในประเทศอย่างเต็มที่ โดยทำหน้าที่เป็นแกนหลักในการประกันความมั่นคงด้านอาหารของประเทศ (2) การปรับปรุงคุณภาพ คุณค่าทางโภชนาการ และรักษาความปลอดภัยด้านสุขอนามัย (3) สร้างและปรับปรุงประสิทธิภาพของห่วงโซ่คุณค่าข้าว (4) ปรับตัวและบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (5) ใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพและปกป้องสิ่งแวดล้อม (6) เพิ่มรายได้ของเกษตรกรและผลประโยชน์ต่อผู้บริโภค (7) เพื่อส่งออกข้าวคุณภาพสูงและมีมูลค่าสูง ทั้งนี้ ภายใต้แผนงานดังกล่าว ในปี 2568 เวียดนามกำหนดเป้าหมายผลผลิตข้าวเปลือก อยู่ที่ 40-41 ล้านตันต่อปี โดยมีปริมาณส่งออกประมาณ 5 ล้านตัน แบ่งเป็น ข้าวหอม ข้าวคุณลักษณะเฉพาะ และข้าว Japonica รวมร้อยละ 40 ข้าวเหนียวร้อยละ 20 ข้าวขาวคุณภาพดีร้อยละ 20 ข้าวขาวคุณภาพปานกลางและต่ำ
รวมร้อยละ 15 และผลิตภัณฑ์จากข้าวร้อยละ 5 โดยมีเป้าหมายส่งเสริมการส่งออกข้าวที่มีแบรนด์ให้ได้ในสัดส่วนที่สูงกว่าร้อยละ 20 และภายในปี 2573 เวียดนามมีเป้าหมายผลผลิตข้าวเปลือกอย่างน้อยอยู่ที่ 35 ล้านตัน โดยมีปริมาณ ส่งออกประมาณ 4 ล้านตัน แบ่งเป็น ข้าวหอม ข้าวคุณลักษณะเฉพาะ และ ข้าว Japonica รวมร้อยละ 45 ข้าวเหนียวร้อยละ 20 ข้าวขาวคุณภาพดีร้อยละ 15 ข้าวขาวคุณภาพปานกลางและต่ำ รวมร้อยละ 10 และผลิตภัณฑ์จากข้าวร้อยละ 10 โดยมีเป้าหมายส่งเสริมการส่งออกข้าวที่มีแบรนด์ให้ได้ในสัดส่วนที่สูงกว่าร้อยละ 40
สมาคมอาหารเวียดนาม (Vietnam Food Association; VFA) คาดว่าในปี 2564 เวียดนามยังคงสามารถส่งออกข้าวได้ดี เนื่องจากตลาดส่งออกสำคัญของเวียดนาม เช่น ฟิลิปปินส์และแอฟริกายังคงมีการทำสัญญาซื้อข้าวจากเวียดนาม ขณะที่อีกหลายประเทศมีความต้องการข้าวหอมและข้าวเหนียวอย่างมาก ซึ่งเป็นโอกาสสำหรับการส่งออกข้าวของเวียดนาม นอกจากนั้น ความตกลงการค้าเสรีทวิภาคีและพหุภาคีระหว่างเวียดนามกับประเทศต่างๆ อาทิ ความตกลงการค้าเสรีสหภาพยุโรป-เวียดนาม (The EU-Vietnam Free Trade Agreement - EVFTA) และความตกลงการค้าเสรีระหว่างอังกฤษ - เวียดนาม (The UK-Vietnam free trade agreement - UKVFTA) ยังสร้างข้อได้เปรียบจากสิทธิพิเศษทางภาษี ทำให้ข้าวเวียดนามสามารถแข่งขันกับประเทศผู้ส่งออกอื่นได้มากขึ้น
นาย Nguyen Canh Cuong ที่ปรึกษาการค้าของเวียดนามในสหราชอาณาจักรกล่าวว่า การส่งออกข้าวไปยัง
สหราชอาณาจักรในปีนี้จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเมื่อเทียบกับปี 2563 บริษัทในสหราชอาณาจักรหลายรายมีความต้องการซื้อข้าวเวียดนามภายใต้ความตกลง UKVFTA จึงสร้างโอกาสให้ข้าวเวียดนามขยายส่วนแบ่งการตลาดในสหราชอาณาจักร
ในปีนี้ โดยในปี 2562 การส่งออกข้าวจากเวียดนามไปยังสหราชอาณาจักรเติบโตอย่างก้าวกระโดด มีมูลค่าการซื้อขายเพิ่มขึ้นร้อยละ 376 ทำให้คาดหมายว่าสหราชอาณาจักรเป็นตลาดส่งออกข้าวที่มีศักยภาพสูงของเวียดนาม และเพื่อใช้ประโยชน์จาก FTA ต่างๆ บริษัทส่งออกข้าวรายใหญ่ของเวียดนาม อาทิ บริษัท Intimex JSC. บริษัท Loc Troi Group บริษัท VRICE Co. และบริษัท Trung An High Technology Agriculture JSC. กำลังวางแผนที่จะแสวงหาลูกค้าใหม่
ในตลาดที่เวียดนามได้ลงนามความตกลงการค้าเสรี โดยเฉพาะในสหราชอาณาจักร กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าเวียดนามจะให้ข้อมูลแก่บริษัทส่งออกข้าวเกี่ยวกับสถานการณ์ความต้องการของตลาดอย่างทันทีและจะดำเนินกิจกรรมส่งเสริมการค้าเพื่อช่วยผู้ส่งออกข้าวเวียดนามเข้าถึงลูกค้าได้ดีขึ้น นอกจากนี้กระทรวงฯ จะนำเสนอข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับกฎระเบียบและอุปสรรคภายใต้ข้อตกลง FTA ต่างๆ เพื่อให้ผู้ส่งออกสามารถเพิ่มความเข้าใจและจัดทำแผนการค้าที่เหมาะสม อีกทั้งสมาคมอาหารเวียดนามยังได้สร้างช่องทางการขายออนไลน์รวมทั้งจัดการสัมมนาการค้าออนไลน์เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมข้าวอีกด้วย ทั้งนี้ เวียดนามแนะนำให้ผู้ส่งออกข้าวให้ความสำคัญกับสินค้าที่คุณภาพสูง และมีผลการส่งออกที่ดี รักษาด้านสุขอนามัยและความปลอดภัยของอาหาร เพื่อให้สามารถเข้าสู่ตลาดที่มีความต้องการด้านคุณภาพและความปลอดภัยของอาหารอย่างสูง เช่น สหภาพยุโรป อเมริกา และแคนาดา นอกจากนี้ ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า หากเวียดนามต้องการรักษาการเติบโตของการส่งออกข้าวในปี 2564 จำเป็นต้องมุ่งเน้นไปที่การสร้างห่วงโซ่มูลค่าข้าวที่ครบวงจรและควบคุมคุณภาพในการผลิต การแปรรูปและการจัดจำหน่ายสินค้า
ที่มา: สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย Oryza.com และสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครโฮจิมินห์
อินเดีย
ภาวะราคาข้าวในสัปดาห์ที่ผ่านมาปรับตัวลดลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 3 เดือน เนื่องจากค่าเงินรูปีอ่อนค่าลงต่ำสุดในรอบกว่า 9 เดือน ประกอบกับความต้องการข้าวจากต่างประเทศโดยเฉพาะในแถบแอฟริกาอ่อนตัวลง ขณะที่
ผู้ส่งออกต่างกังวลเกี่ยวกับปัญหาความล่าช้าของการส่งมอบข้าวขึ้นเรือขนสินค้าที่อาจจะได้รับผลกระทบจาก สถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ที่กลับมารุนแรงอีกครั้ง โดยข้าวนึ่ง 5% ราคาอยู่ที่ระดับ 386-390 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน (เป็นระดับที่ลดลงต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนมกราคม 2564) ลดลงจากระดับ 388-392 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา
ที่มา: สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย และ Oryza.com
กราฟราคาที่เกษตรกรขายได้ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% และราคาขายส่งตลาด กทม. ข้าวสารเจ้า 5%
1.1 มาตรการสินค้าข้าว
1) แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2563/64 ประกอบด้วย 5 ช่วง ดังนี้
ช่วงที่ 1 การกำหนดอุปสงค์และอุปทานข้าว ได้กำหนดอุปสงค์ 28.786 ล้านตันข้าวเปลือกอุปทาน 30.865 ล้านตันข้าวเปลือก
ช่วงที่ 2 ช่วงการผลิตข้าว
2.1) การวางแผนการผลิตข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีการวางแผนการผลิตข้าว ปี 2563/64
รวม 69.409 ล้านไร่ คาดการณ์ผลผลิต 30.865 ล้านตันข้าวเปลือก จำแนกเป็น รอบที่ 1 พื้นที่ 59.884 ล้านไร่ คาดการณ์ผลผลิต 24.738 ล้านตันข้าวเปลือก และรอบที่ 2 พื้นที่ 9.525 ล้านไร่ คาดการณ์ผลผลิต 6.127 ล้านตันข้าวเปลือก โดยสามารถปรับสมดุลการผลิตได้ในการวางแผนรอบที่ 2 หากราคามีความอ่อนไหว ความต้องการใช้ข้าวลดลง และสถานการณ์น้ำน้อย รวมทั้งการปรับลดพื้นที่การปลูกข้าวไปปลูกพืชอื่น โดยจะมีการทบทวนโครงการ
ลดรอบการปลูกข้าวก่อนฤดูกาลเพาะปลูกข้าวรอบที่ 2
2.2) การจัดทำพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีการจัดทำพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าว ปี 2563/64 รอบที่ 1 จำนวน 59.884 ล้านไร่ แยกเป็น 1) ข้าวหอมมะลิ 27.500 ล้านไร่ ผลผลิต 9.161 ล้านตันข้าวเปลือก 2) ข้าวหอมไทย 2.084 ล้านไร่ ผลผลิต 1.396 ล้านตันข้าวเปลือก 3) ข้าวเจ้า 13.488 ล้านไร่ ผลผลิต 8.192 ล้านตันข้าวเปลือก 4) ข้าวเหนียว 16.253 ล้านไร่ ผลผลิต 5.770 ล้านตันข้าวเปลือก และ 5) ข้าวตลาดเฉพาะ 0.559 ล้านไร่ ผลผลิต 0.219 ล้านตันข้าวเปลือก
2.3) การจัดการปัจจัยการผลิต ได้แก่ โครงการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ดี และควบคุมค่าเช่าที่นา
2.4) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ได้แก่โครงการส่งเสริมระบบนาแบบแปลงใหญ่โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ โครงการส่งเสริมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิตพืช โครงการเพิ่มศักยภาพการผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้สู่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวกข43 และข้าวเจ้าพื้นนุ่ม (กข79) และโครงการรักษาระดับปริมาณการผลิตและคุณภาพข้าว
2.5) การควบคุมปริมาณการผลิตข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย
2.6) การพัฒนาชาวนา ได้แก่ โครงการชาวนาปราดเปรื่อง
2.7) การวิจัยและพัฒนา ได้แก่ โครงการปรับปรุงและการรับรองพันธุ์ข้าวคุณภาพดีเพื่อการแข่งขัน และโครงการปรับปรุงและการรับรองพันธุ์ข้าวเจ้าพื้นนุ่มพันธุ์ใหม่
2.8) การประกันภัยพืชผล ได้แก่ โครงการประกันภัยข้าวนาปี
ช่วงที่ 3 ช่วงการเก็บเกี่ยวและหลังเก็บเกี่ยว ได้แก่ โครงการสินเชื่อเพื่อสร้างยุ้งฉางให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกร
ช่วงที่ 4 ช่วงการตลาดในประเทศ
4.1) การพัฒนาตลาดสินค้าข้าว ได้แก่ โครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์และข้าว GAP ครบวงจร และโครงการรณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยทั้งตลาดภายในประเทศและต่างประเทศ
4.2) การชะลอผลผลิตออกสู่ตลาด ได้แก่โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปีโครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกรโครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อกและโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว
ช่วงที่ 5 ช่วงการตลาดต่างประเทศ
5.1) การจัดหาและเชื่อมโยงตลาดต่างประเทศ ได้แก่ การเจรจาขยายตลาดข้าวและกระชับความสัมพันธ์ทางการค้าในต่างประเทศ โครงการกระชับความสัมพันธ์ และรณรงค์สร้างการรับรู้ในศักยภาพข้าวไทยเพื่อขยายตลาดไทยในต่างประเทศ และโครงการ ลด/แก้ไขปัญหาอุปสรรคทางการค้าข้าวไทยและเสริมสร้างความเชื่อมั่น
5.2) ส่งเสริมภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์ข้าว ผลิตภัณฑ์ข้าวและนวัตกรรมข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมและขยายตลาดข้าวไทยเชิงรุก โครงการผลักดันข้าวหอมมะลิไทยคุณภาพดีจากแหล่งผลิตสู่ตลาดโลก โครงการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ข้าวไทยในงานแสดงสินค้านานาชาติ โครงการจัดประชุม Thailand Rice Convention 2021 และโครงการเสริมสร้างศักยภาพสินค้าเกษตรนวัตกรรมไทยเพื่อการต่อยอดเชิงพาณิชย์
5.3) ส่งเสริมพัฒนาการค้าสินค้ามาตรฐาน และปกป้องคุ้มครองเครื่องหมายการค้า/เครื่องหมายรับรองข้าวหอมมะลิไทย
5.4) ประชาสัมพันธ์รณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยในตลาดข้าวต่างประเทศ
2) มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2563 อนุมัติโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2563/64มาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64 และโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64 และงบประมาณ ดังนี้
2.1) โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2563/64 รอบที่ 1 โดยกำหนดชนิดข้าว ราคา และปริมาณประกันรายได้ (ณ ราคาความชื้นไม่เกิน 15%) ดังนี้ (1) ข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคาประกันตันละ 15,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 14 ตัน (2) ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ราคาประกันตันละ 14,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน (3) ข้าวเปลือกเจ้า ราคาประกันตันละ 10,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 30 ตัน (4) ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ราคาประกันตันละ 11,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 25 ตัน และ (5) ข้าวเปลือกเหนียว ราคาประกันตันละ 12,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน
2.2) มาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64 ประกอบด้วย
3 มาตรการ ได้แก่
(1)โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2563/64 โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในเขตพื้นที่ปลูกข้าวทั่วประเทศ เพื่อชะลอข้าวเปลือกไว้ในยุ้งฉางเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร จำนวน 1.82 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อต่อตัน จำแนกเป็น ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 11,000 บาทข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 9,500 บาท ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 5,400 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 7,300 บาท และข้าวเปลือกเหนียวตันละ 8,600 บาทรวมทั้งเกษตรกรที่เก็บข้าวเปลือกในยุ้งฉางตนเอง จะได้รับค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวเปลือกในอัตราตันละ 1,500 บาท สำหรับสถาบันเกษตรกรที่รับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรที่
เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับในอัตราตันละ 1,000 บาท และเกษตรกรผู้ขายข้าวเปลือก ได้รับในอัตราตันละ 500 บาท
(2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกรปีการผลิต 2563/64โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร ประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และศูนย์ข้าวชุมชน เพื่อรวบรวมข้าวเปลือกจำหน่าย และ/หรือเพื่อการแปรรูป วงเงินสินเชื่อเป้าหมาย 15,000 ล้านบาท
คิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ร้อยละ 4 ต่อปี โดยสถาบันเกษตรกรรับภาระดอกเบี้ย ร้อยละ 1 ต่อปี รัฐบาลรับภาระชดเชยดอกเบี้ยให้สถาบันเกษตรกรร้อยละ 3 ต่อปี
(3)โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก ปีการผลิต 2563/64 ผู้ประกอบการค้าข้าวรับซื้อข้าวเปลือกเพื่อเก็บสต็อก เป้าหมาย 4 ล้านตันข้าวเปลือก โดยสามารถรับซื้อจากเกษตรกร
ได้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2563 - 31 มีนาคม 2564 (ภาคใต้ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2564) และเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสาร ระยะเวลาการเก็บสต็อกอย่างน้อย 60 - 180 วัน (2 - 6 เดือน)นับแต่วันที่รับซื้อ โดยรัฐชดเชยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3
3)โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64
ธ.ก.ส. ดำเนินการจ่ายเงินให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน ลดต้นทุนการผลิต ให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้น ในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 20 ไร่ (ครัวเรือนละไม่เกิน 20,000 บาท) ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ขอดำเนินการจ่ายเงินเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว
ปีการผลิต 2563/64 รอบที่ 1 กับกรมส่งเสริมการเกษตร ในอัตราไร่ละ 500 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 20 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 10,000 บาท ก่อนในเบื้องต้น
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 11,797 บาท ราคาลดลงจากตันละ 11,822 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.22
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 8,945 บาท ราคาลดลงจากตันละ 9,101 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.72
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 24,350 บาท ราคาลดลงจากตันละ 24,550 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.81
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 14,010 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 13,750 บาท ในสัปดาห์ก่อน
ร้อยละ 1.89
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 809 ดอลลาร์สหรัฐฯ (25,147 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 811 ดอลลาร์สหรัฐฯ (25,166 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.25 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 19 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 493 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,324 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 487 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,112 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.23 และเพิ่มขึ้นรูปเงินบาทตันละ 212 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 493 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,324 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 484 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,019 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.86 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 305 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 31.0838 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
เวียดนาม
สัปดาห์ที่ผ่านมา ภาวะราคาข้าวอยู่ในระดับทรงตัว เนื่องจากผู้ซื้อต่างรอดูสถานการณ์ราคาที่อาจจะอ่อนตัวลงไปอีก ขณะที่อุปทานข้าวค่อนข้างตึงตัว เนื่องจากสถานการณ์ในกัมพูชาที่มีการล็อคดาวน์ ซึ่งส่งผลให้การขนส่งสินค้าต้องหยุดชะงัก ขณะที่อินเดียกำลังประสบปัญหาการระบาดของโควิด-19 อย่างหนัก ทั้งนี้ความกังวลดังกล่าว ส่งผลให้ราคาข้าวยังไม่ปรับตัวลดลง โดยข้าวขาว 5% ราคาอยู่ที่ประมาณ 485-495 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน เท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา (ซึ่งเป็นระดับราคาที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือนธันวาคม 2563)
วงการค้ารายงานว่า ในช่วงนี้ผู้ส่งออกกำลังเร่งส่งมอบข้าวตามสัญญาที่ค้างอยู่ทั้งจากประเทศคิวบา บังคลาเทศ และซีเรีย ทำให้คาดว่าในเดือนเมษายนนี้ปริมาณส่งออกจะเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 700,000-800,000 ตัน จากเดือนมีนาคมที่ส่งออกประมาณ 539,040 ตัน กรมศุลกากรเวียดนาม (the Customs Department) รายงานว่า ในเดือนมีนาคม 2564 เวียดนามส่งออกข้าวได้ประมาณ 539,040 ตัน มูลค่าประมาณ 290.83 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ราคาส่งออกเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 539.5 เหรียญสหรัฐต่อตัน โดยปริมาณลดลงประมาณร้อยละ 8.9 แต่มูลค่าเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 7 และราคาส่งออกเฉลี่ยสูงขึ้นประมาณร้อยละ 17.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา และเมื่อเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ 2564 ปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 74 แต่ราคาส่งออกเฉลี่ยลดลงประมาณร้อยละ 0.5 (ในเดือนกุมภาพันธ์ 2564 เวียดนามส่งออกข้าวได้ประมาณ 308,472 ตัน มูลค่าประมาณ 167.71 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ราคาส่งออกเฉลี่ยอยู่ที่ ประมาณ 543.7 เหรียญสหรัฐต่อตัน) ตลาดสำคัญที่เวียดนามส่งออกข้าวในเดือนมีนาคม 2564 ได้แก่ ฟิลิปปินส์ 155,707 ตัน กาน่า 44,836 ตัน และมาเลเซีย 55,764 ตัน ทั้งนี้ ในช่วง 3 เดือนแรกของปี 2564 (มกราคม-มีนาคม) มีการส่งออกข้าวแล้วประมาณ 1,192,324 ตัน มูลค่าประมาณ 648.639 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ราคาส่งออกเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 544 เหรียญสหรัฐต่อตัน โดยปริมาณลดลงร้อยละ 21.42 มูลค่าลดลงร้อยละ 7.44 แต่ราคาส่งออกเฉลี่ยสูงขึ้นประมาณร้อยละ 17 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ ตลาดสำคัญที่เวียดนามส่งออกข้าวในช่วง 3 เดือนแรกของปี 2564 (มกราคม-มีนาคม) ได้แก่ ฟิลิปปินส์ประมาณ 411,581 ตัน มูลค่าประมาณ 219.956 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ปริมาณ และมูลค่าลดลงร้อยละ 30.74 และร้อยละ 14.47 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ตามลำดับ) คิดเป็นร้อยละ 34.52 ของปริมาณส่งออกทั้งหมด และร้อยละ 33.91 ของมูลค่าการส่งออกข้าวทั้งหมด รองลงมา เช่น จีน ประมาณ 256,516 ตัน มูลค่าประมาณ 136.168 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 58.3 และร้อยละ 49.7 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ตามลำดับ) คิดเป็นร้อยละ 21.51 และร้อยละ 20.99 ของการส่งออกข้าวทั้งหมด ตามลำดับ กาน่า ประมาณ 94,379 ตัน มูลค่าประมาณ 55.909 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ปริมาณลดลงร้อยละ 11.69 แต่มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 7 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา) คิดเป็นร้อยละ 7.92 และร้อยละ 8.62 ของการส่งออกข้าวทั้งหมด ตามลำดับ ไอวอรี่โคสต์ ประมาณ 87,787 ตัน มูลค่าประมาณ 44.339 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 121.08 และร้อยละ 169.97 เมื่อเทียบปีที่ผ่านมา ตามลำดับ) คิดเป็นร้อยละ 7.39 และร้อยละ 6.84 ของการส่งออกข้าวทั้งหมด ตามลำดับ มาเลเซีย ประมาณ 79,235 ตัน มูลค่าประมาณ 42.548 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ปริมาณและมูลค่าลดลงร้อยละ 54.68 และร้อยละ 39.69 เมื่อเทียบปีที่ผ่านมา คิดเป็นร้อยละ 6.65 และร้อยละ 6.56 ของการส่งออกข้าวทั้งหมด ตามลำดับ และสิงคโปร์ ประมาณ 24,735 ตัน มูลค่าประมาณ 14.407 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ปริมาณลดลงร้อยละ 37.71 เมื่อเทียบปีที่ผ่านมา) คิดเป็นร้อยละ 2.07 ของการส่งออกข้าวทั้งหมด) เป็นต้น
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครโฮจิมินห์ รายงานว่า เมื่อต้นเดือนเมษายน 2564 เกาหลีใต้
ได้เปิดการประมูลราคาข้าวปริมาณ 200,000 ตัน โดยมีผู้เข้าร่วมประมูล ประกอบด้วย สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย จีน ไทย และเวียดนาม สำหรับเวียดนามนั้นมี 7 บริษัท เช่น บริษัท Tan Long Group JSC. บริษัท Kien Giang Import and Export Company บริษัท Northern Food Corporation (Vinafood 1) บริษัท Gia International Company บริษัท Thuan Minh Company และ บริษัท Trung An High Tech Agricultural JSC. เข้าร่วมการประมูลราคาข้าวดังกล่าว ซึ่งเกาหลีใต้ให้เวียดนามประมูลครั้งนี้ปริมาณ 11,236 ตัน ทั้งนี้ บริษัท ส่งออกข้าว Trung An High Tech Agriculture JSC. เป็นผู้ชนะการประมูลราคาข้าวเพียงรายเดียวปริมาณ 11,236 ตัน ด้วยราคา (CIF) 584 เหรียญสหรัฐต่อตัน และจะส่งมอบให้เกาหลีใต้ภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2564 ณ ท่าเรือ MOKPO โดยช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2564 เกาหลีใต้นำเข้าข้าวจากเวียดนามประมาณ 10,612 ตัน ลดลงร้อยละ 52.1 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา ด้วยมูลค่า 5.4 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 42.4
กระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทเวียดนามได้อนุมัติแผนงาน “การปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมข้าวของเวียดนาม ระหว่างปี 2568-2573” ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 26 มกราคม 2564 สรุปรายละเอียดดังนี้ เป้าหมาย (1) ตอบสนองความต้องการบริโภคภายในประเทศอย่างเต็มที่ โดยทำหน้าที่เป็นแกนหลักในการประกันความมั่นคงด้านอาหารของประเทศ (2) การปรับปรุงคุณภาพ คุณค่าทางโภชนาการ และรักษาความปลอดภัยด้านสุขอนามัย (3) สร้างและปรับปรุงประสิทธิภาพของห่วงโซ่คุณค่าข้าว (4) ปรับตัวและบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (5) ใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพและปกป้องสิ่งแวดล้อม (6) เพิ่มรายได้ของเกษตรกรและผลประโยชน์ต่อผู้บริโภค (7) เพื่อส่งออกข้าวคุณภาพสูงและมีมูลค่าสูง ทั้งนี้ ภายใต้แผนงานดังกล่าว ในปี 2568 เวียดนามกำหนดเป้าหมายผลผลิตข้าวเปลือก อยู่ที่ 40-41 ล้านตันต่อปี โดยมีปริมาณส่งออกประมาณ 5 ล้านตัน แบ่งเป็น ข้าวหอม ข้าวคุณลักษณะเฉพาะ และข้าว Japonica รวมร้อยละ 40 ข้าวเหนียวร้อยละ 20 ข้าวขาวคุณภาพดีร้อยละ 20 ข้าวขาวคุณภาพปานกลางและต่ำ
รวมร้อยละ 15 และผลิตภัณฑ์จากข้าวร้อยละ 5 โดยมีเป้าหมายส่งเสริมการส่งออกข้าวที่มีแบรนด์ให้ได้ในสัดส่วนที่สูงกว่าร้อยละ 20 และภายในปี 2573 เวียดนามมีเป้าหมายผลผลิตข้าวเปลือกอย่างน้อยอยู่ที่ 35 ล้านตัน โดยมีปริมาณ ส่งออกประมาณ 4 ล้านตัน แบ่งเป็น ข้าวหอม ข้าวคุณลักษณะเฉพาะ และ ข้าว Japonica รวมร้อยละ 45 ข้าวเหนียวร้อยละ 20 ข้าวขาวคุณภาพดีร้อยละ 15 ข้าวขาวคุณภาพปานกลางและต่ำ รวมร้อยละ 10 และผลิตภัณฑ์จากข้าวร้อยละ 10 โดยมีเป้าหมายส่งเสริมการส่งออกข้าวที่มีแบรนด์ให้ได้ในสัดส่วนที่สูงกว่าร้อยละ 40
สมาคมอาหารเวียดนาม (Vietnam Food Association; VFA) คาดว่าในปี 2564 เวียดนามยังคงสามารถส่งออกข้าวได้ดี เนื่องจากตลาดส่งออกสำคัญของเวียดนาม เช่น ฟิลิปปินส์และแอฟริกายังคงมีการทำสัญญาซื้อข้าวจากเวียดนาม ขณะที่อีกหลายประเทศมีความต้องการข้าวหอมและข้าวเหนียวอย่างมาก ซึ่งเป็นโอกาสสำหรับการส่งออกข้าวของเวียดนาม นอกจากนั้น ความตกลงการค้าเสรีทวิภาคีและพหุภาคีระหว่างเวียดนามกับประเทศต่างๆ อาทิ ความตกลงการค้าเสรีสหภาพยุโรป-เวียดนาม (The EU-Vietnam Free Trade Agreement - EVFTA) และความตกลงการค้าเสรีระหว่างอังกฤษ - เวียดนาม (The UK-Vietnam free trade agreement - UKVFTA) ยังสร้างข้อได้เปรียบจากสิทธิพิเศษทางภาษี ทำให้ข้าวเวียดนามสามารถแข่งขันกับประเทศผู้ส่งออกอื่นได้มากขึ้น
นาย Nguyen Canh Cuong ที่ปรึกษาการค้าของเวียดนามในสหราชอาณาจักรกล่าวว่า การส่งออกข้าวไปยัง
สหราชอาณาจักรในปีนี้จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเมื่อเทียบกับปี 2563 บริษัทในสหราชอาณาจักรหลายรายมีความต้องการซื้อข้าวเวียดนามภายใต้ความตกลง UKVFTA จึงสร้างโอกาสให้ข้าวเวียดนามขยายส่วนแบ่งการตลาดในสหราชอาณาจักร
ในปีนี้ โดยในปี 2562 การส่งออกข้าวจากเวียดนามไปยังสหราชอาณาจักรเติบโตอย่างก้าวกระโดด มีมูลค่าการซื้อขายเพิ่มขึ้นร้อยละ 376 ทำให้คาดหมายว่าสหราชอาณาจักรเป็นตลาดส่งออกข้าวที่มีศักยภาพสูงของเวียดนาม และเพื่อใช้ประโยชน์จาก FTA ต่างๆ บริษัทส่งออกข้าวรายใหญ่ของเวียดนาม อาทิ บริษัท Intimex JSC. บริษัท Loc Troi Group บริษัท VRICE Co. และบริษัท Trung An High Technology Agriculture JSC. กำลังวางแผนที่จะแสวงหาลูกค้าใหม่
ในตลาดที่เวียดนามได้ลงนามความตกลงการค้าเสรี โดยเฉพาะในสหราชอาณาจักร กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าเวียดนามจะให้ข้อมูลแก่บริษัทส่งออกข้าวเกี่ยวกับสถานการณ์ความต้องการของตลาดอย่างทันทีและจะดำเนินกิจกรรมส่งเสริมการค้าเพื่อช่วยผู้ส่งออกข้าวเวียดนามเข้าถึงลูกค้าได้ดีขึ้น นอกจากนี้กระทรวงฯ จะนำเสนอข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับกฎระเบียบและอุปสรรคภายใต้ข้อตกลง FTA ต่างๆ เพื่อให้ผู้ส่งออกสามารถเพิ่มความเข้าใจและจัดทำแผนการค้าที่เหมาะสม อีกทั้งสมาคมอาหารเวียดนามยังได้สร้างช่องทางการขายออนไลน์รวมทั้งจัดการสัมมนาการค้าออนไลน์เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมข้าวอีกด้วย ทั้งนี้ เวียดนามแนะนำให้ผู้ส่งออกข้าวให้ความสำคัญกับสินค้าที่คุณภาพสูง และมีผลการส่งออกที่ดี รักษาด้านสุขอนามัยและความปลอดภัยของอาหาร เพื่อให้สามารถเข้าสู่ตลาดที่มีความต้องการด้านคุณภาพและความปลอดภัยของอาหารอย่างสูง เช่น สหภาพยุโรป อเมริกา และแคนาดา นอกจากนี้ ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า หากเวียดนามต้องการรักษาการเติบโตของการส่งออกข้าวในปี 2564 จำเป็นต้องมุ่งเน้นไปที่การสร้างห่วงโซ่มูลค่าข้าวที่ครบวงจรและควบคุมคุณภาพในการผลิต การแปรรูปและการจัดจำหน่ายสินค้า
ที่มา: สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย Oryza.com และสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครโฮจิมินห์
อินเดีย
ภาวะราคาข้าวในสัปดาห์ที่ผ่านมาปรับตัวลดลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 3 เดือน เนื่องจากค่าเงินรูปีอ่อนค่าลงต่ำสุดในรอบกว่า 9 เดือน ประกอบกับความต้องการข้าวจากต่างประเทศโดยเฉพาะในแถบแอฟริกาอ่อนตัวลง ขณะที่
ผู้ส่งออกต่างกังวลเกี่ยวกับปัญหาความล่าช้าของการส่งมอบข้าวขึ้นเรือขนสินค้าที่อาจจะได้รับผลกระทบจาก สถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ที่กลับมารุนแรงอีกครั้ง โดยข้าวนึ่ง 5% ราคาอยู่ที่ระดับ 386-390 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน (เป็นระดับที่ลดลงต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนมกราคม 2564) ลดลงจากระดับ 388-392 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา
ที่มา: สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย และ Oryza.com
กราฟราคาที่เกษตรกรขายได้ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% และราคาขายส่งตลาด กทม. ข้าวสารเจ้า 5%
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.93 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.90 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.38 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.29 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.24 ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.80
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กิโลกรัมละ 9.31 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 9.19 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.31 และราคาขายส่งไซโลรับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.93 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.78 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.71
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 303.00 ดอลลาร์สหรัฐ (9,418 บาท/ตัน) สูงขึ้นจากตันละ 302.00 ดอลลาร์สหรัฐ (9,303 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.33 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 115 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนพฤษภาคม 2564 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกัน ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 700.80 เซนต์ (8,693.06 บาท/ตัน) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 611.92 เซนต์ (7,574.39 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 14.52 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 1,118.67 บาท
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.93 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.90 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.38 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.29 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.24 ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.80
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กิโลกรัมละ 9.31 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 9.19 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.31 และราคาขายส่งไซโลรับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.93 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.78 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.71
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 303.00 ดอลลาร์สหรัฐ (9,418 บาท/ตัน) สูงขึ้นจากตันละ 302.00 ดอลลาร์สหรัฐ (9,303 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.33 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 115 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนพฤษภาคม 2564 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกัน ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 700.80 เซนต์ (8,693.06 บาท/ตัน) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 611.92 เซนต์ (7,574.39 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 14.52 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 1,118.67 บาท
มันสำปะหลัง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลัง ปี 2564 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2563 – กันยายน 2564) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.163 ล้านไร่ ผลผลิต 30.108 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 3.286 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2563 ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.918 ล้านไร่ ผลผลิต 28.999 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.252 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิตและผลผลิตต่อไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.75 ร้อยละ 3.82 และร้อยละ 1.05 ตามลำดับ โดยเดือนเมษายน 2564 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 2.35 ล้านตัน (ร้อยละ 7.82 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2564 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2564 ปริมาณ 18.40 ล้านตัน (ร้อยละ 61.13 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
ผลผลิตมันสำปะหลังออกสู่ตลาดลดลง ทั้งนี้หัวมันสำปะหลังส่วนใหญ่ไหลเข้าสู่โรงงานแป้งมันสำปะหลัง สำหรับลานมันเส้นเปิดดำเนินการไม่มาก
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.03 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 2.09 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 2.87
ราคามันเส้นสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.64 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 5.59 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 0.89
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ7.09 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 13.88 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 13.85 บาทในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 0.22
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 260 ดอลลาร์สหรัฐฯ (8,082 บาทต่อตัน) ราคาลดลงจากตันละ 263 ดอลลาร์สหรัฐฯ (8,161 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.14
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 483 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,013 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ปาล์มน้ำมัน
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2564 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนเมษายนจะมีประมาณ 1.902
ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.342 ล้านตัน สูงขึ้นจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.526 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.275 ล้านตัน ของเดือนมีนาคม คิดเป็นร้อยละ 24.64 และร้อยละ 24.36 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 4.59 บาท ลดลงจาก กก.ละ 4.64 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.08
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 32.78 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 32.43 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.08
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
สต็อกน้ำมันปาล์มดิบของอินโดนีเซียในเดือนมีนาคมอยู่ที่ 3.20 ล้านตัน ลดลงจากเดือนมีนาคม 2563 ร้อยละ 5.40 และลดลงจากเดือนกุมภาพันธ์ 2564 ร้อยละ 20.60 ในเดือนมีนาคม 2564 อินโดนีเซียส่งออกไปยังตลาดโลกถึง 3.24 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ 2564 ร้อยละ 62.80 คาดว่าความต้องการที่เพิ่มขึ้นเกิดจากความไม่แน่นอนของผลผลิต ส่วนการบริโภคน้ำมันปาล์มดิบภายในประเทศของอินโดนีเซียอยูที่ 1.59 ล้านตัน ลดลงจากเดือนกุมภาพันธ์ 2564 ร้อยละ 0.60 อีกทั้งโอกาสการส่งออกน้ำมันปาล์มของอินโดนีเซียคาดว่าจะดีขึ้น หลังจากมีการร่วมมือทางการค้าระหว่างอินโดนีเซีย-อังกฤษ
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 4,410.84 ดอลลาร์มาเลเซีย (34.18 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 4,302.04 ดอลลาร์มาเลเซีย (33.16 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.53
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,251.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (39.42 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 1,207.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (37.98 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.65
หมายเหตุ : ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน
อ้อยและน้ำตาล
- สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
- สรุปภาวการณ์ผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
ถั่วเหลือง
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้ กิโลกรัมละ 18.04 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 17.77 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.52
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมันสัปดาห์นี้ กิโลกรัมละ 19.63 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,557.92 เซนต์ (18.04 บาท/กก.) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 1,498.32 เซนต์ (17.33 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.98
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 424.16 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13.37 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 414.92 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13.06 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.23
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 67.01 เซนต์ (46.54 บาท/กก.) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 60.00 เซนต์ (41.62 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 11.68
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้ กิโลกรัมละ 18.04 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 17.77 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.52
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมันสัปดาห์นี้ กิโลกรัมละ 19.63 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,557.92 เซนต์ (18.04 บาท/กก.) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 1,498.32 เซนต์ (17.33 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.98
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 424.16 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13.37 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 414.92 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13.06 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.23
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 67.01 เซนต์ (46.54 บาท/กก.) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 60.00 เซนต์ (41.62 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 11.68
ยางพารา
ถั่วเขียว
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 23.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 26.35 บาท ในสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 14.57
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 36.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 24.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 37.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 998.00 ดอลลาร์สหรัฐ (31.02 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ999.00 บาท (31.00 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.10 แต่เพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.02 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 965.40 ดอลลาร์สหรัฐ (30.01 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 966.80 ดอลลาร์สหรัฐ (30.00 บาท/กิโลกรัม) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.14 แต่เพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,192.20 ดอลลาร์สหรัฐ (37.06 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1,193.40 ดอลลาร์สหรัฐ (37.03 บาท/กิโลกรัม) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.10 แต่เพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.03 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 803.60 ดอลลาร์สหรัฐ (24.98 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 804.60 ดอลลาร์สหรัฐ (24.97 บาท/กิโลกรัม) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.12 แต่เพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,218.20 ดอลลาร์สหรัฐ (37.87 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1,219.60 ดอลลาร์สหรัฐ (37.85 บาท/กิโลกรัม) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.11 แต่เพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.02 บาท
ถั่วลิสง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 41.58 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 53.60 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 22.43
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 22.57 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 34.26 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 34.12
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 57.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 54.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ฝ้าย
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้
ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนพฤษภาคม 2564 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 88.96 เซนต์(กิโลกรัมละ 61.62 บาท) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 84.80 เซนต์ (กิโลกรัมละ 58.83 บาท) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.91 (สูงขึ้นในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 2.79 บาท)
ไหม
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,726 บาท ลดลงจาก 1, 774 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา คิดเป็นร้อยละ 2.71 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1,726 บาท ส่วนภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ไม่มีรายงาน
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,477 บาท ลดลงจาก 1,497 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา คิดเป็นร้อยละ 1.34 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1,497 บาท ส่วนภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ไม่มีรายงาน
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 944 บาท ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา
ปศุสัตว์
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อย เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคสอดรับกับผลผลิตเนื้อสุกรที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 77.07 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 77.11 คิดเป็นร้อยละ 0.05 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 73.76 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 74.23 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 79.05 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 77.04 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 2,800 บาท ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.50 บาท ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้น เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตที่ออกสู่ตลาดตรงตามความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 34.91 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 34.58 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.95 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 34.12 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 42.80 บาท และภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงานส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 10.50 บาท ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 33.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผู้บริโภคมีความต้องการผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาดจำนวนมาก แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 271 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 265 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.30 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 297 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 278 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 262 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 250 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 237 บาท คิดเป็นร้อยละ 5.48 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 339 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 340 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.31 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 346 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 358 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 308 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 353 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 305 บาท ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 98.43 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 98.41 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.02 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 98.21 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 99.74 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 91.67 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 105.43 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 78.46 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 78.73 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.34 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 90.65 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 76.10 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
ประมง
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 26 เมษายน – 2 พฤษภาคม 2564) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.) ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง) ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 75.31 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 75.16 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.15 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 142.28 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 151.87 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 9.59 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 131.67 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 138.33 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 6.66 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง) ราคาปลาทูสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 69.04 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 77.20 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 8.16 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง) ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 90.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 10.06 บาท ราคาสูงขึ้น จากกิโลกรัมละ 7.31 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.75 บาท
สำหรับราคาขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 33.00 บาท และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 26 เมษายน – 2 พฤษภาคม 2564) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.) ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง) ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 75.31 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 75.16 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.15 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 142.28 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 151.87 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 9.59 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 131.67 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 138.33 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 6.66 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง) ราคาปลาทูสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 69.04 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 77.20 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 8.16 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง) ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 90.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 10.06 บาท ราคาสูงขึ้น จากกิโลกรัมละ 7.31 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.75 บาท
สำหรับราคาขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 33.00 บาท และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา